วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทบาทของห้องสมุด : การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย (ดร. ปาน กิมปี 8 พฤษภาคม 2552 ณ โรงแรมบางกอกพาเลซ กทม)

บทบาทของห้องสมุด : การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย (ดร. ปาน กิมปี 8 พฤษภาคม 2552 ณ โรงแรมบางกอกพาเลซ กทม)
1. แนวคิดและปรัชญา
การศึกษานอกระบบ:: เสริม เติมเต็ม ทดแทนการศึกษาในระบบให้กับประชาชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียน
การศึกษาตามอัธยาศัย:: ส่งเสริมสนับสนุนให้โอกาสในการเรียนรู้ในวิถีชีวิตของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย
2. ความมุ่งหมาย
การศึกษานอกระบบ::พัฒนาตนเองเป็นช่วงๆ
การศึกษาตามอัธยาศัย::ส่งเสริมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
3. หลักสูตร
การศึกษานอกระบบ::มีกรอบหลักสูตรมุ่งสนองต่อผู้เรียนเป็นสำคัญ
การศึกษาตามอัธยาศัย::ใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน
4. ผู้เรียน / ผู้รับบริการ
การศึกษานอกระบบ::ประชาชนทุกวัยระบุตัวคนได้ชัดเจนโดยเน้นบุคคลที่พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ
การศึกษาตามอัธยาศัย::ประชาชนทุกวัย แต่ระบุตัวคนได้ยาก
5. ครู / ผู้สอน
การศึกษานอกระบบ::ได้รับการฝึกอบรมโดยตรง อำนวยความสะดวกในกิจกรรมการเรียนรู้
การศึกษาตามอัธยาศัย::ทุกคนที่มีศักยภาพ ส่งเสริมให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้
6. ความรู้
การศึกษานอกระบบ::ยึดถืองานของผู้เรียนเป็นหลัก และเป็นไปตามกรอบหลักสูตร
การศึกษาตามอัธยาศัย::ตามความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
7. วิธีการเรียนรู้
การศึกษานอกระบบ::มีแบบแผน เน้นให้แสวงหาความรู้ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ มีการพบกลุ่ม
การศึกษาตามอัธยาศัย::มีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่มีแบบแผนแน่นอน
8. ระยะเวลา
การศึกษานอกระบบ::เป็นช่วงๆ ตามที่หลักสูตรกำหนด
การศึกษาตามอัธยาศัย::ตลอดเวลา
9. วุฒิการศึกษา
การศึกษานอกระบบ::บางกิจกรรมมีวุฒิการศึกษา บางกิจกรรมมีเกียรติบัตร
การศึกษาตามอัธยาศัย::ไม่มีวุฒิบัตร บางกิจกรรมมีเกียรติบัตร
10. กิจกรรมการเรียนรู้
การศึกษานอกระบบ::กิจกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นตามกรอบหลักสูตร เน้นปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี
การศึกษาตามอัธยาศัย::กิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามวิธีชีวิต
11. สื่อการเรียนรู้
การศึกษานอกระบบ::สื่อการเรียนรู้มีอยู่แล้ว มีสื่อบุคคลที่เน้นประสบการณ์เป็นหลัก
การศึกษาตามอัธยาศัย::การจัดสาระเพื่อการเรียนรู้
12. การประเมินผล
การศึกษานอกระบบ::การประเมินผลที่ชัดเจน มีเกณฑ์การ ผ่าน-ไม่ผ่าน
การศึกษาตามอัธยาศัย::ไม่มีการประเมินผลที่ชัดเจน แต่บางกิจกรรมอาจมีการประเมินผลเพื่อให้ผลย้อนกลับต่อผู้รอการประเมิน











ข้อเสนอการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
::การจัดแผนการเรียนรู้รายบุคคล::
1. สุ่ม / สำรวจความต้องการของสมาชิก
2. การร่วมมืออย่างสมัครใจของสมาชิก
3. การเลือกสรรสื่อเพื่อการเรียนรู้
4. การบันทึกผลการเรียนรู้ : สมุดบันทึกผลการเรียนรู้
5. การส่งเสริมสมาชิกอย่างต่อเนื่อง
6. การสรุปผลการเรียนรู้ : เกียรติบัตร
7. การจัดทำสัญญาการเรียนรู้เรื่องใหม่

การปรับใช้กับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
::การเรียนเพื่อรู้
::การเทียบระดับการศึกษา
หลายคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ก็ด้วยข้อคิดภาษิตเพียงบทเดียว “มันคือความจริง”
......ให้ใครจงหมั่นให้ ใครใคร
ให้แล้วอย่าจำใส่ใจ จดไว้
ให้แล้วก็แล้วไป หมดเรื่อง กันนา
แต่รับจงอย่าได้ หมดปลื้มลืมคุณ

ไม่มีความคิดเห็น: